วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ศิลปะตะวันออก

       เป็นลักษณะของศิลปะที่แสดงคุณลักษณะเฉพาะอย่างของรูปแบบ ศิลปะจะแสดงออกทางอิทธิพลทางภูมิอากาศ ขนบประเพณี รูปแบบของศิลปะตะวันออกจะเด่นชัดทางอิทธิพลทางศาสนา เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนประยุกต์ศิลป์ งานประณีตศิลป์และงานหัตถกรรม ซึ่งมีส่วนในการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของชาวตะวันออกตามพื้นเพเดิมของการดำรงชีวิต ชาวตะวันออก คือ มนุษย์ที่อยู่อาศัยในประเทศแถบตะวันออก ตั้งแต่ตะวันออกกลางจนถึงตะวันออกไกล โดยมีรูปร่างทางร่างกายและวัฒนธรรมเป็นอีกลักษณะหนึ่งที่แตกต่างกันออกไปด้วย การนับถือศาสนาก็มีอิสระต่อกัน ประกอบด้วยศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ลัทธิเต๋า และศาสนาคริสต์ เป็นต้น สภาพความเป็นอยู่จะเป็นไปตามลักษณะของภูมิประเทศและภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ลักษณะบ้านเรือน เครื่องแต่งกายและสิ่งของเครื่องใช้เป็นไปตามสิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์ศิลปะจึงเป็นไปอีกแบบหนึ่ง ศิลปะในประเทศตะวันตกนั้น มีโอกาสที่จะเป็นลักษณะเดียวกันในบางยุคบางสมัย เพราะมีความนิยมร่วมกัน แต่ในประเทศตะวันออกนั้น ล้วนมีเอกลักษณ์ประจำชาติของตนเองมาแต่ยุคโบราณ และต่างก็สืบต่อลักษณะทางศิลปะกันลงมาไม่ขาดสายจึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าชาวตะวันออกซึ่งประกอบด้วยเชื้อชาติต่าง ๆ นั้น มีความเคารพนับถือในขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองยิ่งกว่าชีวิต ทำให้ศิลปะของชาวตะวันออกมีลักษณะรูปแบบตนเอง “ ศิลปะประจำชาติ ” เด่นชัด และไม่ถือเอาความเป็นจริงตามธรรมชาติเป็นสำคัญ จึงสร้างสรรค์ศิลปะให้บังเกิดความงามที่เหนือขึ้นไปจากธรรมชาติตามรสนิยมและความรู้สึกของตน






ศิลปะไทย

ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงาม
                                          
ที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐาน

ของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคม

ไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็น

ต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพ

โดยเฉพาะคนไทยและศิลปะไทยยังตัดเส้นด้วยสีดำและสีน้ำตาลเท่านั้น





ลักษณะของศิลปะไทย
     
               ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ

ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะ

ศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้าง

ขึ้นเพื่อส่งเสริมพุธทศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใส

ศรัทธาในพุทธศาสนา
            ภาพไทย หรือ จิตกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ

           
              1.    เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล



2.    เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ



3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ



4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่ว ภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง และเส้นสินเทาหรือ คชกริด เป็นต้น




5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้น



ศิลปะอินเดีย

              ศิลปะอินเดียแท้

สมัยที่ 1     
ศิลปะอินเดียโบราณบางครั้งเรียกว่าศิลปะแบบสาญจีหรือแบบราชวงศ์โมริยะ และแบบสมัยพระเจ้าอโศก มหาราชที่เรียกว่าตุงคะ ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 ศาสนสถานที่เหลือร่องรอยอยู่ คือ สถูปรูปโอคว่ำ ตั้งอยู่บนฐานมีฉัตรปักเป็นยอด แต่เดิมสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่คงเป็นไม้ เนื่องจากภาพสลักนูน ต่ำหรือถ้ำที่ขุดเข้าไปในภูเขาเลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบไม้ เช่น ที่ถ้ำราชา เพทสา และการ์ลี สำหรับประติมากรรมที่เก่าแก่ที่สุดคงเป็นเสาของพระเจ้าอโศกมหาราชราวปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ทำ เป็นรูปสิงห์ตามแบบศิลปะในเอเชียไมเนอร์ บัวหัวเสารูประฆังคว่ำได้รับอิทธิพลจากศิลปะอิหร่าน ส่วน ประติมากรรมลอยตัวมีรูปร่างใหญ่และหนา เช่น รูปยักษ์ที่เมือง ประขัม ส่วนใหญ่ของงานประติมากรรมสมัยนี้ เป็นภาพสลักบนรั้วและประตูล้อมรอบสถูป ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาไม่สลักเป็นพระพุทธรูปหรือรูปมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ แต่ใช้สัญ ลักษณะแทน เช่น ปางเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็มีภาพของม้าเปล่าไม่มีคนขี่แต่มีฉากกั้น ซึ่งแสดงว่าพระ โพธิสัตว์ซึ่งจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปได้ประทับอยู่หลังม้า ปาฎิหาริย์ทั้ง 4 ปาง คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐม เทศนาและปรินิพพาน ก็มีสัญลักษณะแทนคือ ดอกบัวแทนปางประสูติ ต้นโพธิ์แทนปางตรัสรู้ ธรรมจักรแทน ปางปฐมเทศนาและพระสถูปแทนปางปรินิพพาน



สมัยที่ 2

            ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 10 มีอิทธิพลภายนอกที่มีต่อศิลปะอินเดียคือ ศิลปคันธารราฐ และศิลปะอินเดียเองคือ ศิลปะแบบมถุรา ทางเหนือและศิลปะแบบอมราวดีทางตะวันออกเฉียงใต้


1. ศิลปะคันธารราฐ เกิดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 มีรูปแบบ ศิลปะกรีกและโรมัน แต่เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสน



              2. ศิลปะมถุรา ศิลปะมถุรารุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-9 ประติมากรรมสลักด้วยศิลาทรายบางรูปได้รับอิทธิ พลจากศิลปกรีกและโรมัน แต่ก็มีรูปแบบพระพุทธรูปแบบอินเดียเป็นครั้งแรก





3. ศิลปะอมราวดี เกิดขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-7 ศิลปะสมัย นี้มีลักษณะอ่อนไหวแต่เน้นลักษณะตามอุดมคติ พระพุทธรูปสมัยนี้มักทำห่มจีวรคลุมทั้งองค์ แต่ลักษณะพระ พักตร์ยังคล้ายแบบกรีกและโรมัน สถานที่สำคัญทีพบศิลปะแบบอมราวดี คือ เมือง อมราวดี 



สมัยที่ 3

 ศิลปะคุปตะ และหลังคุปตะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 เจริญรุ่งเรืองขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ อินเดีย พระพุทธรูปมีลักษณะแบบอินเดียแท้ แต่กลับพบประติมากรรมสลักนูนสูงมากกว่าประติมากรรมลอย ตัว ศิลปะที่เด่นในสมัยนี้คือ จิตรกรรมฝาผนังที่ถ้ำอชันตา ส่วนศิลปะหลังคุปตะอยู่ในช่วงประมาณพุทธ ศตวรรษที่ 11-13 สถาปัตยกรรมมีรูปร่างใหญ่ขึ้น สมัยนี้มีเทวสถานที่สำคัญ คือ เอลลูรา และเอเลฟันตะ สมัยนี้ เริ่มมีศาสนสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐ


สมัยที่ 4

        ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมาเป็นช่วงสมัยของศิลปะทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือศิลปทมิฬ (Dravidian) แยกออกจากส่วนที่เหลือของอินเดีย



ศิลปะทมิฬหรือดราวิเดียน

           ศิลปะแบบทมิฬแบบที่เก่าสุดมีประติมากรรมจากศิลา รูปสำริดและรูปสลักจาก ไม้ ประติมากรรมสำริดที่รู้จักกันดีคือ รูปพระศิวนาฏราชฟ้อนรำอยู่ในวงเปลวไฟ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่หลัง คาสร้างเป็นหินซ้อนกันเป็นชั้นเช่น สถาปัตยกรรมที่เป็นเทวสถานใหญ่ชื่อลิงคราชที่เมืองภูวเนศวร ศิลปะปาละ เสนะ ศิลปะทางพุทธศาสนาของอินเดียภาคเหนือภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์ปาละ-เสนะ ใน แคว้นเบงคอลและพิหารระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-18 พุทธศาสนาในสมัยปาละ คือ พุทศาสนาลัทธิตันตระซึ่ง กลายมาจากลัทธิมหายาน โดยผสมความเชื่อในลัทธิฮินดูเข้าไปปะปนสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นศูนย์กลางการสอนพุทธศาสนาลัทธิตันตระในแคว้นเบงคอล ส่วนประติมากรรมมี ทั้งภาพสลักจากศิลาและหล่อจากสำริดทั้งทางพุทธศาสนาและตามคติแบบฮินดู ประติมากรรมสลักจากศิลาในสมัยนี้แบ่งออกเป็น 3  ยุคคือ

1. ยุคแรกพุทธศตวรรรษที่ 14-15 มีพระโพธิสัตว์และ พระพุทธรูปทรงเครื่อง



2. ยุคสองพุทธศตวรรษที่ 16-17 พระพุทธรูปทรงเครื่องมากขึ้น สร้างตามคตินิยมลัทธิ ตันตระ






3. ยุคที่สามยุคราชวงศ์เสนะ พุทธศตวรรษที่ 18 นับถือศาสนาฮินดูจึงเป็นยุคของประติมากรรมแบบฮินดู ศิลปะแบบปาละ เสนะ ได้แพร่หลายไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ประเทศเนปาล ธิเบต ศรีลังกา ชวาทางภาคกลาง เกาะ สุมาตราในอินโดนีเซีย พม่า และประเทศไทย




ศิลปะขอม


            ศิลปะขอม  ได้แก่ ศิลปะในประเทศกัมพูชาและดินแดนใกล้เคียง  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ ศิลปะขอมนับเป็นศิลปะอินเดีย  ในระยะแรกมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียมาก  แต่ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นรูปแบบของตัวเอง  สถาปัตยกรรมขอมได้เจริญขึ้น   โดยมีระเบียบและความงามชนิดที่ไม่เคยปรากฎในศิลปะอินเดียมาก่อน  ลวดลายเครื่องประดับของขอมก็ได้แสดงถึงการตกแต่งอย่างมากมาย และไม่นิยมเน้นพื้นที่ให้ว่างเปล่า   แต่ในขณะเดียวกันองค์ประกอบของภาพโดยรวมก็ยังคงรักษาความได้สัดส่วนไว้เสมอ    ประติมากรรมขอมได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งกระด้างปนอำนาจชนิดหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันในประเทศอินเดีย  และยังมีการสร้างภาพประติมากรรมให้มีอารมณ์ยิ้มอยู่ด้วย ดังเช่นภาพประติมากรรมที่เมืองพระนคร (Angkor  Thom) ในศิลปะแบบบายน  อาจกล่าวได้ว่า  ประติมากรรมขอมแสดงออกถึงความรู้สึกเร้นลับ ลึกซึ้งอย่างแท้จริง  วิวัฒนาการของศิลปะขอมโดยเฉพาะสถาปัตยกรรมมีการสืบเนื่องติดต่อกันอย่างเห็นได้ชัดหลายสมัย  ดังนี้
๑.      สมัยพนมดา  (Phnom  Da)                           ๘.  สมัยเกาะแกร์  (Koh  Ker)
๒.    สมัยสมโบร์ไพรกุก  (Sambor  Prie kuk)      ๙.  สมัยแปรรูป  (Pre  Rup)
๓.     สมัยไพรกเมง  (Prei  Kmeng)                       ๑๐. สมัยบันทายสรี  (Banteay  Srei)
๔.     สมัยกำพงพระ  (Kampong  Prah)                 ๑๑. สมัยคลัง  (Khleang)
๕.     สมัยกุเลน  (Kulen)                                        ๑๒. สมัยบาปวน  (Baphuon)                
๖.      สมัยพระโค  (Preah  Ko)                               ๑๓.  สมัยนครวัด  (Angkor  Wat)
๗.     สมัยบาแค็ง  (Bakheng)                                 ๑๔.  สมัยบายน  (Bayon)
เพื่อให้เข้าใจศิลปะขอมได้ชัดเจนมากขึ้น  จึงขอจำแนกรูปลักษณะภาพรวมของศิลปะขอมแต่ละประเภท โดยสังเขปดังนี้
            ๑.   สถาปัตยกรรม  ลักษณะสำคัญของศิลปะขอม คือ ความมีระเบียบและการแสดงอำนาจอย่างแข็งกระด้าง  ลักษณะเช่นนี้เห้นได้ชัดจากการวางผังเมืองอย่างได้สัดส่วน  อาทิ เมืองพระนครหรือราชธานีก่อนเมืองพระนคร  คือเมืองหริหราลัย  (Hariharalaya)  สถาปัตยกรรมขอมในชั้นต้น คือ ศาสนสถานที่เรียกว่า  ปราสาทขอม”  ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับศาสนสถานทางภาคเหนือของประเทศอินเดียมาก  โดยทั่วไปจะสร้างด้วยอิฐตั้งอยู่โดด ๆ  แยกออกจากกัน  แต่ต่อมาไม่นานการสร้างปราสาทเหล่านี้ก้ได้รวมกันเข้าเป็นหมู่และตั้งอยู่บนฐานอันเดียวกัน  เช่น  ปราสาทพระโค  ปราสาทบันทายสรี  เป็นต้น  ต่อมาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่  ๑๔  เป็นต้นมา  คือตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่  ๒  ก็เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาขึ้นในกัมพูชาและทำให้เกิดสถาปัตยกรรมแบบใหม่ขึ้นในศาสนสถานขอมขึ้นคือ  ฐานทำเป็นชั้นแล้วสร้างปราสาทไว้ข้างบนนั้น  ฐานแต่ละชั้นก็คือการจำลองเขาพระสุเมรุ  ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางของมนุษย์โลก  ดังตัวอย่างปราสาทบากอง (Bakong)  ปราสาทพนมบาแค็ง  (Phnom  Bakheng)  เป็นต้น   ระยะต่อมาโครงสร้างสถาปัตยกรรมของขอมได้มีการพัฒนาส่วนประกอบของปาราสาทเพิ่มขึ้น   โดยเพิ่มระเบียงเข้ามาประกอบกับสองส่วนแรกที่เป็นปราสาทและฐานเป็นชั้น  เช่น  ปราสาทตาแก้ว (Takeo)  ในสมัยคลังและปราสาทนครวัด  ซึ่งปราสาทนครวัดนับเป็นศาสนสถานกลุ่มที่สมบูรณ์และงดงามที่สุดในศิลปะขอม   สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗   ระหว่าง  พ. ศ. ๑๖๕๐ -  พ. ศ. ๑๗๐๐ เป็นการพัฒนามาจากปราสาท
ตาแก้ว         
                 ๒.  ประติมากรรม  ภาพสลับนูนต่ำของขอมในชั้นต้นสลับคล้ายของจริงตามธรรมชาติเหมือนกับภาพสลักในประเทศอินเดีย  เช่น  บรรดาทับหลังของปราสาทหลังกลางในศาสนสถานหมู่ใต้ที่สมโบร์  แต่ต่อมาก็มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป  ดังเห็นได้จากปราสาทบากองในสมัยพระโค  และที่ปราสาทกระวันในบริเวณเมืองพระนคร  ภาพสลักแห่งนี้สลักเป็นรูปพระนารายณ์ และพระลักษณ์  มียืนอยู่เหนือผนังภายใน
ศาสนสถาน  แสดงความแข็งกระด้างช่นเดียวกับประติมากรรมลอยตัวในขณะนั้น  นอกจากนี้ยังพบภาพสลักบนหน้าบันของปราสาททายสรี  ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจ  เพราะสลักอย่างได้ระเบียบและเต็มไปด้วยความงดงามอ่อนช้อย  เช่น  ภาพสลักนางอัปสรติโลตตมาที่อยุ่ม่ามกลางอสูรสองตน  ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์  กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศษ  และประมาณ  พ.ศ.๑๖๕๐-๑๗๐๐  ได้มีภาพสลักขนาดใหญ่ซึ่งแปลกประหลาดอย่างยิ่งที่ระเบียงปราสาทนครวัด  เป็นสภาพสลักนูนต่ำขนาดใหญ่  ๘  ภาพสลักอยู่บนระเบียงชั้นที่  ๑  ภาพเหล่านี้แสดงบุคคลจำนวนมาก  ไม่ปล่อยพื้นที่ให้ว่างเปล่าและชอบแสดงจิตใจอย่างรุนแรง  เช่น  ภาพการสู้รบ  ภาพนรก  ภาพสวรรค์  ภาพเหล่านี้แม้ว่าจะแสดงจังหวะที่ค่อนข้างกะด้างแต่ก็ต่อเนื่องกันไป  และแสดงให้เห็นถึงความนิยมในเส้นขนานขนาดใหญ่ตลอดจนการประกอบภาพอย่างมโหฬารด้วย   ต่อมาในสัมยบายนก็มีลักษณะใหม่เกิดขึ้นในภาพสลักนูนต่ำของขอม  คือ  การนิยมแสดงภาพตามความจริง  ภาพชีวิตประจำวันตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น  ภายหลังต้นพุทธศตวรรษ
ที่  ๑๒  คือ  ตั้งแต่สมัยพนมดา   ก็เริ่มประติมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่  ซึ่งมีลำตัวตรงง  ขาแยกจากกัน  และล้อมรอบด้วยวงโค้งสำหรับยึด  ประติมากรรมเหล่านี้โดยมากสลักเป็นรูปพระหริหระคือ พระนารายณ์และพระอิศวรผสมกันเป็นองค์เดียว  มีสัญลักษณ์ของเทพเจ้าทั้งสอง  แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาเอกภาพไว้ได้อย่างน่าสนใจ  รูปพระหริหระที่งดงามมากองค์หนึ่งอยู่ที่พิพธภัณฑ์กีเมต์  กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส  คือ รูปพระหริหระแห่งมหาฤาษี  (Maha  Rosei)   นอกจากนี้  ลวดลายเครื่องประดับในองค์ประกอบของ
ทับหลัง”  (ศิลาสลักแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่เหนือกรอบประตู)  ก็ยังมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ  รวมทั้งเสาประดับกรอบประตู  และเครื่องประดับรูปสัตว์  คือ  นาค  ซึ่งเป็นการคิดค้นของขอมที่น่าชมมาก  ส่วนทับหลังที่มีรูปร่างสูงก็จะมีลวดลายเครื่องประดับมากขึ้น  ทับหลังแบบนี้อาจตัดได้ว่าเป็นทับหลังที่มีความงดงามที่สุดในศิลปะขอแม้ว่าจะมีลวดลายเครื่องประดับอย่างมากมายและไม่นิยมพื้นที่ว่างเปล่า  แต่ก็ยังคงรักษาความได้สัดส่วนไว้อย่างเคร่งครัด  อาทิ  ทับหลังที่เมืองหริหารลัยสมัยพระโค  เป็นต้น


ศิลปะจีน




นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าจีนมีประวัติแห่งการพัฒนาประเทศเป็น 4  ยุค  คือ  ยุคแรกเป็นยุคหิน  ต่อมาคือยุคหยก ยุคทองแดง และยุคสุดท้ายคือยุคเหล็ก   สำหรับสมัยประวัติศาสตร์ของจีนมียุคสมัยของศิลปะที่สำคัญดังนี้
                1.  สมัยราชวงศ์ชาง  ( Shang  Dynasty )  ศิลปวัตถุที่เด่นที่สุดคือ  เครื่องสำริด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะสำริดซึ่งมีทรวดทรงสวยงาม  ใหญ่โต  แข็งแรง  หล่อด้วยฝีมือที่ยอดเยี่ยม  อันแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคนิคในการหล่อสำริดที่เจริญกว่าเทคนิคการหล่อสำริดในเมโสโปเตเมีย  ทั้งๆทีรู้จักวิธีหล่อสำริดก่อนจีนเกือบพันปี  เครื่องสำริดของจีนทำขึ้นโดยการหลอมโลหะที่มีส่วนผสมของทองแดง ดีบุก  และตะกั่ว  ใช้ทำเป็นภาชนะใส่อาหาร  เหล้า  และน้ำ  ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น  เสียม  ขวาน  มีด  เป็นต้น  ลวดลายที่ปรากฏบนสำริดเหล่านี้จะมีความวิจิตรสวยงามมาก  มีทั้งลายนูน และลายฝังลึกในเนื้อสำริด  เช่น  ลายเรขาคณิต  ลายสายฟ้า  ลายก้อนเมฆ  และลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ของสัตว์ต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายหน้ากากรูปสัตว์ที่เรียกว่า เถาเทียะ ”  เห็นจมูก  เขา  และตาถลนอย่างชัดเจน  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่พบเห็นในศิลปะจีนในสมัยต่อๆ มาอยู่เสมอ
                นอกจากสำริดแล้ว  เครื่องหยกประเภทต่างๆ  ก็แสดงเห็นฝีมือทางศิลปะอันสูงส่งของสมัยราชวงศ์ชาง  หยกเป็นวัตถุที่นิยมนำมาแกะสลักเป็นรูปต่างๆ  มากที่สุด  โดยช่างในสมัยราชวงศ์ชางมีเทคนิคในการเจียระไนและแกะสลักหยกให้เป็นรูปและลวดลายต่างๆ กัน  เช่น  เป็นใบมีด   เป็นแท่ง  เป็นแผ่นแบนๆ  หัวลูกศร  จี้  หรือรูปสัตว์ต่างๆ  สัญลักษณ์ที่นิยมกันมากคือ  สัญลักษณ์ของสวรรค์  โลกและทิศสี่ทิศ  นอกจากเครื่องหยกแล้วยังพบผลงานแกะสลักอื่นๆอีก  เช่น  งาช้าง  เครื่องปั้นดินเผา  หินอ่อน  โดยแกะสลักเป็นรูปหัววัว  เสือ  ควาย  นก  และเต่า  เป็นต้น                     
                  2.  สมัยราชวงศ์โจว  ( Chou  Dynasty )  ความก้าวหน้าทางศิลปะของราชวงศ์ชาง  ได้สืบทอดต่อมาในสมัยราชวงศ์โจว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคการหล่อสำริด ความเป็นตัวของตัวเองของราชวงศ์โจวก็เริ่มปรากฏชัดขึ้น  เช่น  มีการเน้นลวดลายประดับประดามากขึ้นและไม่เด่นนูนเหมือนสมัยราชวงศ์ชาง  มีความซับซ้อนมากขึ้น  เช่น  ลวดลายสัตว์เป็นรูปมังกรหลายตัวซ้อนกันและเกี้ยวกระหวัดไปมา  ลวดลายละเอียดอ่อนช้อยมาก  ในด้านการแกะสลักเครื่องหยกฝีมือช่างสมัยราชวงศ์โจวจะยอดเยี่ยมกว่าสมัยราชวงศ์ชางมาก  สามารถแกะสลักได้สลับซับซ้อน  ในสมัยราชวงศ์โจวยังพบว่ามีการพัฒนาในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา  ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นต้นแบบของเครื่องเคลือบจีน  เพราะรู้จักกรรมวิธีในการเคลือบน้ำยาเบื้องต้นและรู้จักเผาไฟด้วยอุณหภูมิสูง
                3.  สมัยราชวงศ์จิ๋น   ( Chin  Dynasty )   ในสมัยนี้มีสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านความมโหฬาร  คือ  กำแพงเมืองจีน  ( The  Great  Wall )  ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น  กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ   6,700 – 10,000  กิโลเมตร
                นอกจากนี้ก็ยังพบประติมากรรมดินเผาเป็นรูปทหารเท่าคนจริงฝังอยู่ในสุสานพระจักรพรรดิองศ์หนึ่งแห่งราชวงศ์จิ๋น  คือ  จักรพรรดิฉิน  สื่อ  หวง  ตี่  ซึ่งพระองศ์ได้สร้างไว้ล่วงหน้าก่อนสวรรคต  30  ปี  การขุดค้นได้กระทำไปแล้วบางส่วนในพื้นที่ประมาณ  12,600  ตารางเมตร   และพบประติมากรรมดินเผารูปทหารและม้าศึกจำนวนมากประมาณ  6,000  รูป   รูปทรงของประติมากรรมมีขนาดใกล้เคียงกับคนจริงมาก  คือมีความสูงประมาณ  6  ฟุต  ปั้นด้วยดินเหนียวสีเทา  จากนั้นก็นำไปเผาไฟเช่นเดียวกับการกรรมวิธีการสร้างเครื่องปั้นดินเผาทั่วไป
                4.  สมัยราชวงศ์ฮั่น  ( Han  Dynasty )  ความเป็นปึกแผ่นของประเทศได้ส่งผลสะท้อนมายังศิลปกรรมให้เจริญก้าวหน้าไปด้วยรากฐานที่วางไว้ดีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชางเรื่อยมา   ต่างได้รับการพัฒนาเต็มที่สมัยราชวงศ์ฮั่น  และประติมากรรมเต็มรูปหรือแบบลอยตัวก็เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยนี้  มีการพัฒนาทางด้านการออกแบบ  กรรมวิธีการสร้างและมโนภาพในงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรมเขียนตัวอักษร ประติมากรรมหรืองานศิลปหัตถกรรมทั่วไป ในส่วนของประติมากรรมมีการนำหินมาสลักให้เป็นทั้งรูปลอยตัวและรูปแบน   มีเรื่องราวเกี่ยวกับเทพนิยายตามความเชื่อในลัทธิเต๋า  ประติมากรรมรูปแบน  มักเป็นแผ่นใช้การขีด  วาด  จารึกเป็นลายเส้นหรือไมก็ฉลุเป็นรูปต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการคิดประดิษฐ์กระดาษใช้แทนผ้าไหมและแผ่นหิน  ศิลปะประยุคในสมัยนี้จะบรรลุถึงความงามชั้นสูงสุด  โดยเฉพาะช่างทองรูปพรรณขึ้นชื่อในด้านความประณีต   งดงาม   ซึ่งมีการประดิษฐ์และออกแบบลวดลายพัฒนาขึ้นกว่าเดิมมาก
                5.  สมัยราชวงศ์จิ้น  ( Jin  of  Tsin  Dynasty )  พระพุทธศาสนาได้นำความเชื่อใหม่มาสู่จีน  และได้เข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงศิลปกรรมที่ทำมาเป็นประเพณีแต่เดิม ที่เคยมีความนับถือลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าเป็นหลักสำคัญ  ให้พัฒนาไปสู่รูปแบบพุทธศิลป์แบบใหม่ๆ  เช่น  การสร้างรูปเคารพ  ศาสนสถาน  เป็นต้น   โดยเฉพะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติจากอินเดียได้เข้ามามีส่วนสร้างงานด้วย  ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะแรกพุทธศิลป์คงมีรูปลักษณะแบบอินเดีย   แต่ต่อมารูปแบบกรรมวิธีและเนื้อหาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม  และสอดคล้องกับการแสดงออกของศิลปะจีนเอง  เช่น ที่ถ้ำตุนหวง ได้มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้  ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดของจีน  มีลักษณะเป็นภาพทิวทัศน์ประกอบพุทธประวัติ  และเป็นตัวอย่างอันดีของการผสมผสานเทคนิคจิตรกรรมแบบเปอร์เซีย  อินเดีย  และจีนเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว
                6. สมัยราชวงศ์ถัง   ( Tang  Dynasty)   สมัยนี้เป็นยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีนทุกประเภท   โดยเฉพาะเครื่องเคลือบ   ฝีมือของช่างในการผลิตเครื่องเคลือบมีคุณภาพสูงกว่าเครื่องเคลือบที่ผลิตจากแหล่งอื่นๆทั่วโลก   เครื่องเคลือบที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ  เครื่องเคลือบสามสี ”  ( Thee -  colour wares )  มีลักษณะแข็งแรงและสง่างามจึงกลายเป็นลักษณะเฉพาะของเครื่องเคลือบในสมัยราชวงศ์ถัง  ลักษณะเนื้อดินละเอียด  ขาวหม่น  ในการเคลือบน้ำยานั้น  จะเว้นที่ส่วนล่างของฐานไว้เล็กน้อย  เพื่อแสดงฝีมือการปั้นของช่าง  ทั้งนี้  ลวดลายที่ปรากฏ  บางส่วนแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเปอร์เซียด้วย


2 ความคิดเห็น:

  1. Betway.tv review – YouTube TV, Videos, App - Vimeo
    We take a close look at Betway.tv's video, featuring an extensive selection youtube to mp3 of content, bonuses, and mobile support.

    ตอบลบ
  2. Harrah's Cherokee Casino Resort in Cherokee, NC - JTAH
    Harrah's 안산 출장샵 Cherokee 광주광역 출장마사지 Casino Resort is located on the Qualla Boundary in Cherokee, NC. 대전광역 출장마사지 Just 의정부 출장안마 a 10-minute drive from Harrahs Cherokee Casino, this 파주 출장안마 5-star hotel

    ตอบลบ